วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์ สร้างสรรค์ผลงาน

ชื่อโครงงาน  Life on the road
กลุ่มที่  6  ปัญหาการจราจรติดขัด
นางสาวทัตพร         แก้วนิ่ม               เลขที่ 16  (เขียนบท)
นางสาวพิชญาภรณ์   แก้วสามสี             เลขที่ 19  (ถ่ายทำ)
นางสาวกิ่งกาญจน์    เชาวนานันท์           เลขที่ 27  (ตัดต่อ)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/13
วิธีดำเนินการ 
1.ปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อออกแบบเค้าโครงเรื่อง
2.หาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการทำสารคดี
3.ศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมนั้นๆ
4.แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม ตามความถนัดของแต่ละบุคคล

ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
การใช้งานโปรแกรม Movie Maker เพื่อสร้างงานวีดีโอ
Movie Maker เป็นโปรแกรมใช้งานที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ส่วนใหญ่) มีหน้าที่ทำงาน สร้างวีดีโอภาพเคลื่อไหว ถือเป็นโปรแกรมที่ใช้งานไม่ยุ่งยาก ประโยชน์ใช้สอยนั้นเหมาะไปในทางการนำเสนอภาพ เรื่องราว แบบมีลูกเล่นซึ่งทำให้ชิ้นงานไม่น่าเบื่อ ด้วยการหาภาพสวยๆ เพลงดีดี มาอัดใส่ประกอบกันให้เป็นเรื่องราว
1.จากหน้าจอ Desktop คลิกที่ start (ด้านมุมซ้ายล่างขอหน้าจอ)เลือก All Programs มองหาโปรแกรม Windows Movie Makeจากนั้นให้คลิกที่ชื่อโปรแกรม จะปรากฏหน้าจอโปรแกรมWindows Movie Maker เพื่อใช้เริ่มการทำงาน
2.ดึงไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ของเราที่ต้องการนำมาทำชิ้นงาน วางไว้ในส่วนพื้นที่ collectionตามจำนวนที่ต้องการ 
3.เลือกภาพเรียงตามลำดับความต้องการมาจัดวางใน drag media to the show timeline to begin… จากนั้นให้ใส่ลูกเล่น ทั้งที่เป็น effects และ transitions โดยไปที่
4.เมนู edit movie จากนั้นให้เลือกใส่ลูกเล่นได้ตามต้องการ
5.เมื่อตกแต่งชิ้นงานรูปภาพของท่าน เรียบร้อยแล้วให้
6.เพิ่ม credit (make titles or credits) บริเวณส่วนต่างๆของรูปภาพ ได้แก่ ส่วนหน้าสุดของภาพชิ้นงานส่วนระหว่างภาพส่วนในรูปภาพ และส่วนจบชิ้นงานรูปภาพ ซึ่งต้องคำนึงให้ข้อความ กับรูปภาพเนื้อหาสอดคล้องกันเราสามารถเลือกใส่ credit ได้ ตามความพอใจ หรือไม่ใส่ส่วนใดก็ได้
7.เพิ่มเสียงประกอบ(เพลง) โดยให้กลับไปที่ เมนู edit movie เลือก Show collection (หน้าหลักที่มีไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ของเราอยู่) จากนั้นดึงเสียงเพลงที่ต้องการมาจัดวางที่ส่วนการสร้างชิ้นงาน (ส่วน show storyboard)
8.ปรับระดับความยาวของภาพ หรือเสียงเพลงให้เหมาสมกัน สามารถใช้วิธีการ ตัดทอนเพลงให้สั้นลง โดยคลิกที่ไฟล์เพลงค้างไว้ จากนั้นกดลากเมาส์ที่เนื้อเพลง(หดเข้า-ขยายออก) ตามต้องการ หรือ หรือ ขยายไฟล์ภาพให้ขยายกว้างขึ้น ให้พอเหมาะกับเพลงประกอบ โดยคลิกที่ไฟล์ภาพแล้วกดเมาท์ค้างไว้ จากนั้นลากรูปภาพที่ต้อง(หดเข้า-ขยายออก) ตามต้องการ
9.เมื่อได้ชิ้นงานดังใจหวังแล้ว ให้ Save ชิ้นงานเป็น 2 ลักษณะ คือ save project กับ save project movie ดังนี้
*9.1 ไปที่ file เลือก save project (เก็บเพื่อสามารถนำกลับมาแก้ไขได้ใหม่)ชิ้นงานไว้ที่ My video หรือ เก็บใน USB
*9.2 ไปที่ file เลือก save project movie (ชิ้นงานสามารถนำไปใช้ได้เลย)
**การลบรูปภาพ หรือ เพลงประกอบ ที่ไม่ต้องการในชิ้นงานนำเสนอ ให้เลื่อนเมาท์วางที่รูปภาพที่จะลบออก แล้วคลิกขวาที่เมาท์ เลือกDele… หรือ cut
**การลบ effects ที่ไม่ต้องการในชิ้นงานนำเสนอ ให้เลื่อนเมาท์วางที่เครื่องหมายรูปดาว(สัญลักษณะแทนeffects )ที่ปรากฏอยู่ในภาพ แล้วคลิกขวาที่เมาท์ เลือกDele… หรือ cut สีของดาวจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีเทา แสดงว่าeffects ที่ใส่ไว้ถูกลบทิ้งแล้ว เริ่มทำการเลือก effects อื่นใส่ใหม่ได้

การใช้งานเบื้องต้น
ก่อนเริ่มต้นตัดต่อเราควรรู้จัก คีย์ลัดที่ใช้บ่อยๆกันในคีย์บอร์ด
· ปุ่ม Space bar ใช้สำหรับ Play/ Stop หรือการเล่นการหยุด งานในtimeline
· ปุ่ม S สำหรับตัด clipให้เป็นท่อนๆ
· ปุ่ม M สำหรับ การมาร์คจุด
· Ctrl+c,Ctrl+v ,Ctrl+x การก๊อปปี้ การวาง หรือการย้าย เหมือนกับ วินโดว์เลยครับ ตัวเลือนตรงกลางของเมาส์ สำหรับยึด หด คลิป การนำงานเข้าสู่ Timeline ก็คือ คลิ๊กลากแล้ววาง หรือ คลิ๊กเมนูFile–>Import media หน้าต่างที่จะแนะนำต่อไปนี้คือหน้าต่าง Exploror มีความสำคัญคือทำหน้าที่ ค้นหา และสามารถนำเข้าสู่ Timeline ได้โดยลากแล้ววาง

การใช้งาน Transition
Transition คือ การเปลี่ยนฉากเข้าหรือออกฉาก เช่น การทำพรีเซนท์ ในพาวเวอร์พอยท์ในการเปลี่ยนหน้า หรือเข้าสู่เรื่องใหม่ เราก็จะทำ Transition มาใช้ในการเปลี่ยนเพื่อมิให้ผู้รับชมเกิดอาการเบื่อหน่าย และทำให้งานของเราดูน่าสนใจยิ่งขึ้น การนำTransition มาใช้ทำได้ดังนี้


1. คลิกแถบ Transitions เลือกรูปแบบของTransition ทางซ้ายมือ ส่วนทางขวามือจะเป็นการแสดงผลของ Transition จากนั้นให้คลิกลาก Transition ในช่องขวามือไปจ่อที่ขอบของคลิปจนเกิดเครื่องหมายบวกขึ้น จึงปล่อย จะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้รับแก้ไข Transition ได้ดังภาพ

การใช้งาน Video FX
การใช้ Video Fx คือ การใส่เอฟเฟคให้กับวีดีโอ เช่น การทำให้คลิปของเรากลายเป็น ภาพเก่า หรือ การทำขอบเบลอ เป็นต้น การใช้วีดีโอเอฟเอ็กในวีกัส สามารถทำได้ โดยคลิ๊กลากFX นั้น ไปลงที่คลิป ที่เราต้องการดังภาพ

การใช้งาน Media Generators
แถบ Media Generator คือ แถบเครื่องมือสำหรับสร้าง ตัวอักษร เครดิต โรล แบ๊กกราว Animation ต่างๆ โดยโปรแกรม Sony Vegas ได้รวบรวมไว้เป็นหมวดๆซึ่งง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน

1. แถบ Checkerboard สำหรับทำพื้นแบ๊กกราวแบบลายหมากรุกPattern ต่างๆมากมาย ซึ่งสามารถใช้งานได้โดยการ ลากแล้ววางบน Time line
2. แถบ Color Gradient หรือ การไล่เฉดสี สามารถนำมาทำAnimation ได้โดยใช้ key frameเป็นตัวกำหนด การเคลื่อนไหว
3. แถบ Credit Roll สำหรับสร้าง เครดิตโรลรูปแบบต่างๆ วิธีใช้ โดยลากแล้ว วางบนTimeline สามารถเปลี่ยนตัวอักษรได้ตามต้องการ
4. แถบ Noise Texture สำหรับทำภาพเคลื่อนไหว Animation เช่น ท้องฟ้า เปลวไฟ ลาวาต่างๆ โดยใช้ ตัว Key frame เป็นตัวกำหนดสร้าง Animetion
5. Solid Color เป็นแถบสีแบบสีเดียวล้วนๆ ใช้ทำแบ๊กกราว หรือพื้นหลังภาพ ทำแถบพื้นหลังตัวอักษรให้สวยงาม ส่วนใหญ่ใช้ทำแบ๊ก กราวสำหรับภาพ ที่มีพื้นแบบโปร่งใส
6. แถบ Test Pattern เป็น Pattern สำหรับหัวม้วนวีดีโอ คล้ายๆกับตัวนับถอยหลัง
7. แถบ Text สำหรับสร้างตัวอักษร เอฟเฟคตัวอักษร เป็นแถบที่ใช้ง่ายบ่อย

แหล่งเรียนรู้
http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=14832


https://moba555.wordpress.com/ขั้นต้นของการใช้โปรแกร/การใช้งานเบื้องต้น/


หลักฐานประกอบ

เครื่องหมายจราจร ที่ควรรู้ไว้ ในการใช้รถใช้ถนน และในการสอบใบขับขี่

เครื่องหมายจราจรและความหมาย
          เครื่องหมายจราจร (Traffic Sign) หมายถึง สัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ในการควบคุมการจราจร มักเป็นสัญญาณแสงหรือป้าย มักมีจุดประสงค์เพื่อ กำหนดบังคับการเคลื่อนตัวของจราจร การจอด หรืออาจเป็นการเตือน หรือแนะนำทางจราจร ดังนี้
1. สัญญาณไฟจราจร
          สัญญาณไฟจราจร โดยทั่วไปประกอบด้วยสัญญาณไฟสามสี ติดตั้งตามทางแยกต่าง ๆ เพื่อควบคุมการจราจรตามทางแยก โดยทั้งสามสี ได้แก่ สีแดงให้รถหยุด สีเหลืองให้รถระวัง เตรียมหยุด และสีเขียวคือให้รถไปได้ สำหรับสัญญาณไฟจราจรพิเศษอาจมีสีเหลืองเพียงสีเดียวจะกะพริบอยู่ ใช้สำหรับทางแยกที่ไม่พลุกพล่าน หมายถึง ให้ระมัดระวังว่ามีทางแยก และดูความเหมาะสมในการออกรถได้เอง หรือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน หรือ สัญญาณไฟจราจรไว้สำหรับเปลี่ยนเลน เป็นต้น

2. ป้ายจราจร 
          ป้ายจราจร เป็นป้ายทางการควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
  • เครื่องหมายจราจร ป้ายบังคับ 
มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา
  • เครื่องหมายจราจร ป้ายเตือน 
มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า
  • เครื่องหมายจราจร ป้ายแนะนำ
    เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่าง ๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น
3. เครื่องหมายจราจรอื่น ๆ
- เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายบนพื้นทางและขอบทางเท้า
เครื่องหมายจราจร ประเภทป้ายบังคับ 1 และ รูปภาพเครื่องหมายจราจร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ป้ายบังคับที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด
2. ป้ายบังคับที่แสดงด้วยข้อความ และ/หรือสัญลักษณ์
1. "หยุด"
ความหมาย รถทุกชนิดต้องหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
2. "ให้ทาง"
ความหมาย รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไป ก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และ ไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
3. "ให้รถสวนทางมาก่อน"
ความหมาย ให้ผู้ขับรถทุกชนิดหยุดรถตรงป้าย เพื่อให้รถที่กำลังแล่นสวนทางมาก่อน ถ้ามีรถข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อนก็ให้หยุดรถรอถัดต่อกันมาตามลำดับ เมื่อรถที่สวนทางมาได้ผ่านไปหมดแล้ว จึงให้รถที่หยุดรอตามป้ายนี้เคลื่อนไปได้

4. "ห้ามแซง"
ความหมาย ห้ามมิให้ขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

5. "ห้ามเข้า"
ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดเข้าไปในทางที่ติดตั้งป้าย

6. "ห้ามกลับรถไปทางขวา"
ความหมาย ห้ามมิให้กลับรถไปทางขวาไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

7. "ห้ามกลับรถไปทางซ้าย"
ความหมาย ห้ามมิให้กลับรถไปทางซ้ายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

8. "ห้ามเลี้ยวซ้าย"
ความหมาย ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางซ้าย

9. "ห้ามเลี้ยวขวา"
ความหมาย ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางขวา

10. "ห้ามรถยนต์"
ความหมาย ห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

11. "ห้ามรถบรรทุก"
ความหมาย ห้ามรถบรรทุกทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

12. "ห้ามรถจักรยานยนต์"
ความหมาย ห้ามรถจักรยานยนต์ผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย


13. "ห้ามรถยนต์สามล้อ"
ความหมาย ห้ามรถยนต์สามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย


14. "ห้ามรถสามล้อ"
ความหมาย ห้ามรถสามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย
15. "ห้ามใช้เสียง"
ความหมาย ห้ามมิให้ใช้เสียงสัญญาณหรือทำให้เกิดเสียงที่ก่อการรบกวนด้วยประการใด ๆในเขตที่ติดตั้งป้าย

16. "ห้ามคน"
ความหมาย ห้ามคนผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

17. "ห้ามจอดรถ"
ความหมาย ห้ามมิให้จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนั้น เว้นแต่การรับ-ส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า

18. "ห้ามหยุดรถ"
ความหมาย ห้ามมิให้หยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นอันขาด


19. "หยุดตรวจ"
ความหมาย ให้ผู้ขับรถหยุดรถที่ป้ายนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจและเคลื่อนรถต่อไปได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจแล้วเท่านั้น

20. "จำกัดความเร็ว"
ความหมาย ห้ามมิให้ผู้ขับรถทุกชนิดใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลขในแผ่นป้ายนั้นๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย จนกว่าจะพ้นที่สุดระยะที่จำกัดความเร็วนั้น

21. "ห้ามรถหนักเกินกำหนด"
ความหมาย ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดหรือเมื่อรวมน้ำหนักรถกับ น้ำหนักบรรทุก เกินกว่าที่กำหนดไว้เป็น "ตัน" ตามจำนวนเลขในเครื่องหมายนั้นๆ เข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย



ที่มา : http://knowledgeth.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html
http://car.kapook.com/view63172.html

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การขับขี่รถจักรยานยนต์สองล้ออย่างปลอดภัย

ที่มา : www.youtube.com
1. ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับใน ทางนั้น
2. รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดไว้สำหรับ รถจักรยานผู้ขับขี่รถจักรยานต้องจัดให้มี
(1)     กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
(2)     เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดีสามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที
(3)     โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาว ไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้ แสงสว่างตรงไปข้างหลัง หรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทนซึ่งเมื่อถูก แสงไฟส่องให้มีแสงสะท้อน
3. ในเวลาต้องเปิดไฟ ผู้ขับขี่รถจักรยานอยู่ในทางเดินรถไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับจักรยาน ต้องจุดโคมไฟสีขาวหน้ารถ เพื่อให้ ผู้ขับขี่หรือคนเดินเท้าซึ่งขับขี่รถหรือเดินสวนมาสามารถมอง เห็นรถ
4. ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้อง ขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น
5. ในทางเดินรถไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามมิให้ ผู้ขับขี่รถจักรยาน
(1)     ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สิน
(2)     ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
(3)     ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
(4)     ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งปกติ
(5)     ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อบรรทุกคน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

(6)     บรรทุกหรือสิ่งของหีบห่อหรือของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวาง การจับคันบังคับรถ อันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สิน
ที่มา : www.aphonda.co.th
ที่มา : http://www.trafficpolice.go.th/save_drive10.php

การเดินบนถนน, การข้ามถนน, การขึ้นลงรถประจำทางอย่างปลอดภัย

ที่มา  : www.oknation.net
1. การเดินถนน
(1)      ถนนที่มีทางเท้าจัดไว้ ให้เดินบนทางเท้าและอย่าเดินใกล้ทางรถ โดยหันหลังให้รถที่กำลังแล่นมาก่อนที่จะก้าวไปในทางรถต้องมองซ้าย-ขวา ก่อนเสมอ
(2)      ถนนที่ไม่มีทางเท้า ให้เดินชิดริมทางขวาของถนน อย่าเดินคู่กัน ให้เดินเรียงเดี่ยวตามกันไป
(3)      ถ้าจูงเด็กให้เด็กเดินด้านในและจับมือเด็กไว้ให้มั่น เพื่อป้องกัน เด็กวิ่งออกไปในทางรถ
(4)      การเดินถนนในที่มืด ควรสวมเสื้อขาว และถ้าถือไฟฉายส่องติดมือ ไปด้วยก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
(5)      แถวหรือขบวนทหาร ตำรวจ ลูกเสือ หรือนักเรียนที่มีผู้บังคับบัญชา ควบคุมเดินอย่างเป็นระเบียบ จะเดินทางรถยนต์ก็ได้ โดยชิดทางรถ ด้านขวาหรือด้านซ้ายตามความจำเป็น
2. การข้ามถนน
(1)      ก่อนข้ามถนนทุกครั้ง ต้องหยุดเดินที่ขอบถนน มองขวาซ้าย แล้วมองขวาให้แน่ใจว่าไม่มีรถกำลังแล่นมา จึงข้ามได้ แล้วให้รีบข้าม ถนนไปเป็นเส้นตรง และให้เดินอย่างรวดเร็ว อย่าวิ่งข้ามถนน
(2)      ถ้าบริเวณที่จะข้ามถนนมีช่องข้ามมาทาง (ทางม้าลาย) ต้องข้ามตรง ช่องทางข้ามปลอดภัยที่สุด
ที่มา : www.siamhowto.com
(3)      อย่าข้ามถนนโดยออกจากที่กำบังตัว เช่น ออกจากซอยรถที่จอดอยู่ หรือท้ายรถประจำทาง เพราะจะเกิดอันตรายขึ้นได้
(4)      การข้ามถนนที่รถเดินทางเดียว ต้องหยุดให้แน่ใจเสียก่อนว่ารถ แล่นมาจากไหนและมีความปลอดภัยพอหรือยังจึงข้ามได้
(5)      ถนนที่มีเกาะกลางถนนต้องข้ามทีละครึ่งถนน โดยข้ามครั้งแรก ไปพักที่เกาะกลางถนนเสียก่อน จึงข้ามในครึ่งหลังต่อไป
(6)      ในเวลากลางคืนควรไปหาที่ข้ามที่มีแสงสว่าง
3. ช่องข้ามทางหรือทางม้าลาย
(1)      คนเดินเท้าที่กำลังเดินข้ามถนนในทางม้าลายมีสิทธิไปก่อนรถ เพราะตามกฎหมายต้องหยุดให้คนข้ามถนนในทางข้ามทาง แต่จะต้อง ระวังให้โอกาสแก่รถที่ชะลอความเร็วและหยุดไม่ทัน ก่อนที่จะก้าวลงไป ในถนนยิ่งเวลาฝนตกถนนลื่นต้องระวังให้มาก
(2)      ถึงแม้ว่าคนขับรถจะหยุดให้ข้าม ต้องข้ามด้วยความระมัดระวัง มองขวา - ซ้าย ตลอดเวลา เพราะอาจมีผู้ขับขี่บ้าบิ่นแซงรถที่หยุดรถ อยู่ขึ้นมาได้ และการข้าถนนต้องรวดเร็ว อย่าเดินลอยชาย
(3)      การข้ามถนนในช่องทางข้ามที่บริเวณทางแยก ให้ระวังรถที่จะเลี้ยว เข้ามาหาตัวท่านด้วย
(4)      ถ้ามีเกาะกลางถนนทำไว้ที่ทางม้าลาย ให้ข้ามถนนไปทีละครึ่งถนน โดยพักรออยู่บนเกาะ มองขวา-ซ้ายปลอดภัยแล้วจึงข้ามไป ดังนั้น ถ้าท่านกำลังข้ามถนนอยู่ ถ้าเห็นรูปคนสีเขียวกระพริบขึ้นสัญญาณไฟ ก็ให้รีบข้ามถนนให้พ้นไป โดยเร็วข้อสำคัญอย่าเริ่มก้าวข้ามถนน เมื่อ เห็นรูปคนสีเขียวกระพริบที่สัญญาณไฟเป็นอันขาด เพราะจะข้ามถนนไป ไม่ตลอด และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
4. ทางข้ามที่มีตำรวจจราจรควบคุมอย่าข้ามถนนเมื่อตำรวจกำลังปล่อยรถ เดินอยู่ หรือเมื่อตำรวจให้สัญญาณห้ามคนเดินเท้าอยู่
5. การข้ามถนนบนสะพานลอยถนนในกรุงเทพฯ และในเมืองใหญ่จะทำ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามให้ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอยจะปลอดภัย กว่า

ที่มา : www.dek-d.com

6. การขึ้นลงรถประจำทางอย่าขึ้นหรือลงรถประจำทาง จนกว่ารถจะหยุด สนิทที่ป้ายหยุดรถประจำทางเมื่อลงจากรถประจำทาง แล้วจะข้ามถนน ควรรอให้รถออกไปให้พ้นเสียก่อน จะได้มองเห็นรถอื่นๆ ที่แล่นเข้ามา ได้อย่างชัดเจน

ที่มา : http://www.trafficpolice.go.th/save_drive6.php

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ GPS

ที่มา : earth2225.wordpress.com

GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียมหลัก 3 ค่าย คือ อเมริกา รัสเซีย ยุโรป
ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม.หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008
รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)
ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจาก นโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร
2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ
ทุกวันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ notebook เพื่อเชื่อมต่อกับ internet

ทุกวันนี้ในต่างประเทศมีการใช้อุปกรณ์ GPS กันอย่างกว้างขวาง และประชาชนมีความรู้เรื่อง GPS เป็นอย่างดี เพราะได้มีการใช้ งานมาหลายปีแล้วและมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรในรูปแบบของดิจิตอล ประกอบกับมีการวางผังเมือง อย่างเป็นระเบียบทำให้การพัฒนาระบบ GPS เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในรถแท็กซี่จะพบอุปกรณ์ GPS ประจำอยู่แทบทุกคัน เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง หรือการขับรถเพื่อท่องเที่ยวก็จะมีการแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวพร้อมสถานที่น่าสนใจต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ที่พัก จุดชมวิว แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น และนักเดินทางก็มักจะพกอุปกรณ์ GPS ในรูปแบบ PDA หรือ Pocket PC กันเป็นส่วนมาก แทนการพกพาสมุดแผนที่อย่างในอดีต ปัจจุบันนี้ระบบ GPS สามารถค้นหาถึงระดับบ้านเลขที่หรือเบอร์โทรศัพท์ และนำทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

ที่มา : http://www.global5thailand.com/thai/gps.htm