วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการของภาษาซี



- ค.ศ. 1970 มีการพัฒนาภาษา B โดย Ken Thompson ซึ่งทำงานบนเครื่อง DEC PDP-7 ซึ่ง ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไม่ได้ และยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่ (ภาษา B สืบทอดมาจาก ภาษา BCPL ซึ่งเขียนโดย Marth Richards)
- ค.ศ. 1972 Dennis M. Ritchie และ Ken Thompson ได้สร้างภาษา C เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ภาษา B ให้ดียิ่งขึ้น ในระยะแรกภาษา C ไม่เป็นที่นิยมแก่นักโปรแกรมเมอร์โดยทั่วไปนัก
- ค.ศ. 1978 Brian W. Kernighan และ Dennis M. Ritchie ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The C Programming Language และหนังสือเล่มนี้ทำให้บุคคลทั่วไปรู้จักและนิยมใช้ภาษา C ในการเขียน โปรแกรมมากขึ้น
- แต่เดิมภาษา C ใช้ Run บนเครื่องคอมพิวเตอร์ 8 bit ภายใต้ระบบปฏิบัติการ CP/M ของ IBM PC ซึ่งในช่วงปี ค. ศ. 1981 เป็นช่วงของการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ภาษา C จึงมี บทบาทสำคัญในการนำมาใช้บนเครื่อง PC ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการพัฒนาต่อมาอีกหลาย ๆ ค่าย ดังนั้นเพื่อกำหนดทิศทางการใช้ภาษา C ให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน ANSI (American National Standard Institute) ได้กำหนดข้อตกลงที่เรียกว่า 3J11 เพื่อสร้างภาษา C มาตรฐานขึ้นมา เรียนว่า ANSI C
- ค.ศ. 1983 Bjarne Stroustrup แห่งห้องปฏิบัติการเบล (Bell Laboratories) ได้พัฒนาภาษา C++ ขึ้นรายละเอียดและความสามารถของ C++ มีส่วนขยายเพิ่มจาก C ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แนวความคิดของการเขียนโปรแกรมแบบกำหนดวัตถุเป้าหมายหรือแบบ OOP (Object Oriented Programming) ซึ่งเป็นแนวการเขียนโปรแกรมที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนมาก มีข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรมจำนวนมาก จึงนิยมใช้เทคนิคของการเขียนโปรแกรมแบบ OOP ในการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้

ประวัติภาษาซี



ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis Ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language)  ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken Tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์
 

ภาษาซี


ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์
ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก
ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี
ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อมา พ.ศ. 2532 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ตีพิมพ์มาตรฐานสำหรับภาษาซีขึ้นมา เรียกกันว่า ภาษาแอนซีซี (ANSI C) หรือ ภาษาซี89 (C89) ในปีถัดมา องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้อนุมัติให้ข้อกำหนดเดียวกันนี้เป็นมาตรฐานสากล เรียกกันว่า ภาษาซี90 (C90) ในเวลาต่อมาอีก องค์การฯ ก็ได้เผยแพร่ส่วนขยายมาตรฐานเพื่อรองรับสากลวิวัตน์ (internationalization) เมื่อ พ.ศ. 2538 และมาตรฐานที่ตรวจชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2542 เรียกกันว่า ภาษาซี99 (C99) มาตรฐานรุ่นปัจจุบันก็ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เรียกกันว่า ภาษาซี11 (C11)



วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เฟซบุ๊กเปิดตัวฟีเจอร์ Facebook Save เก็บโพสต์น่าสนใจไว้อ่านทีหลัง

เฟซบุ๊ก (Facebook) เปิดตัว Facebook Save ฟีเจอร์ใหม่สำหรับบันทึกโพสต์หรือเนื้อหาที่น่าสนใจบนเฟซบุ๊กเก็บไว้อ่านทีหลังได้ เตรียมอัพเดทให้กับเว็บเฟซบุ๊กและแอพฯ เฟซบุ๊กเร็ว ๆ นี้ 
         เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เฟซบุ๊กประกาศเปิดตัว Facebook Save ฟีเจอร์ใหม่ใช้สำหรับบันทึกลิงก์, สถานที่, หนัง, รายการทีวี และเพลงเก็บไว้อ่านไว้ดูทีหลังได้ รวมถึงสามารถแชร์สิ่งที่บันทึกไว้ให้กับเพื่อน ๆ ได้อีกด้วย โดยขั้นตอนการบันทึกโพสต์ที่น่าสนใจเพียงแตะที่โพสต์หรือลิงก์ที่สนใจก็จะมีเมนูแสดงให้บันทึก (Save) ลิงก์นั้น ๆ แสดงขึ้นมา หากใช้งานผ่านมือถือโพสต์ที่บันทึกไว้จะอยู่ในส่วนของแท็บ More > Saved พร้อมแสดงตัวเลขบอกจำนวนลิงก์หรือโพสต์ที่เก็บบันทึกเอาไว้ สำหรับใครที่ไม่เข้าใจว่าฟีเจอร์นี้ใช้งานอย่างไร ดูตัวอย่างจากคลิปวิดีโอด้านล่างได้เลย

กสทช. ปรับ AIS-DTAC วันละกว่า 1 แสน คิดค่าโทรเกินเพดาน


กสทช. สั่งปรับ AIS-DTAC วันละกว่า 1 แสนบาท หลังฝ่าฝืนคิดค่าบริการเกินอัตราขั้นสูงที่กำหนดมาโดยตลอด 2 ปี
            จากกรณีที่ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ กำหนดอัตราค่าบริการของบริการประเภทเสียงในระบบ 2G ไว้ที่กรอบไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที ซึ่งมีการออกประกาศบังคับไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2555 ส่วนรายการส่งเสริมการขายเดิมที่มีการใช้อยู่ก่อนแล้ว ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นั้น
          ล่าสุด วันนี้ (25 กรกฎาคม 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. ได้ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 186,669 บาท ส่วนบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 157,947 บาท เหตุที่ผ่านมา 2 ปี นับจากปี 2555 ทั้งสองบริษัทมีการคิดค่าบริการเกินอัตราขั้นสูงที่กำหนดมาโดยตลอด
          โดยก่อนหน้านี้ หลังจากปี 2555 กสทช.ตรวจพบว่ามีรายการส่งเสริมการขายที่เรียกเก็บค่าบริการเกินอัตราที่กำหนดถึง 99 รายการ แบ่งเป็นรายการส่งเสริมการขายของ AIS จำนวน 66 รายการ และ DTAC จำนวน 33 รายการ ซึ่งต่อมาสำนักงาน กสทช.ก็ได้ทำหนังสือแจ้งทั้งสองบริษัทให้ปฏิบัติตามประกาศ แต่ก็ได้รับคำชี้แจงว่า บางรายการยังไม่สามารถระงับได้ในทันที เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเดิมยังใช้บริการอยู่
          กระทั่งต้นปี 2557 สำนักงาน กสทช.ก็ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาและกำหนดจำนวนค่าปรับ เพื่อกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่บริษัท AIS และ DTAC ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช.ก็ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนทั้งสองบริษัทอีกครั้ง โดยได้มีการกำหนดค่าปรับให้ทราบ และให้ชำระในวันที่กำหนด แต่ปรากฏว่าทั้งสองบริษัทต่างยังทำการฝ่าฝืนต่อไป
          ดังนั้น กสทช.จึงได้ให้บริษัท AIS ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 186,669 บาท ส่วนบริษัท DTAC ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 157,947 บาท ดังกล่าว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

ภาพถ่าย 12 แนวที่เจอบ่อย ๆ บนอินสตาแกรม

1.ภาพเท้าบนชายหาด 


           แนวภาพยอดฮิตที่หลาย ๆ คนเมื่อไปเที่ยวทะเลจะชอบถ่ายภาพ selfie แต่เปลี่ยนจากใบหน้า มาเป็นเท้าของเราแทน 

2. เมฆและท้องฟ้า  


         แค่เพียงเงยหน้าขึ้นไปบนฟ้าก็เจอกับเมฆหน้าตาแปลก ๆ ถ่ายทุกวันก็ไม่เบื่อ จนทำให้หลายคนอดใจไม่ไหวที่จะต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายภาพและโพสต์ลงอินสตาแกรม

3. อาหาร 
   

         อีกหนึ่งภาพยอดฮิตที่ถูกโพสต์ลงอินสตาแกรมมากที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน กินอะไร ขอถ่ายภาพอาหารและโพสต์อินสตาแกรมก่อนนะ 

4. สีของเล็บ  

       ภาพของเล็บที่ถูกแต่งเติมด้วยสีสันต่าง ๆ กลายเป็นภาพอีกแนวที่ถูกโพสต์ลงอินสตาแกรมโดยเฉพาะผู้หญิง


5. คำคมสร้างแรงบันดาลใจ   


        ภาพคำคมที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจกลายเป็นอีกภาพยอดฮิตที่ถูกโพสต์ลงบนอินสตาแกรม

6. ตึกหรืออาคารสูง ๆ จากมุมมองภาพบนพื้นดิน


         นอกจากภาพก้อนเมฆบนท้องฟ้าแล้ว ภาพตึกสูง อาคาร บ้านช่อง ก็กลายเป็นอีกภาพที่หลาย ๆ คนชอบถ่ายและโพสต์ลงอินสตาแกรม


7. ลาเต้อาร์ต 

      ถ่ายกับกาแฟลาเต้อาร์ต พร้อมขนมที่อยู่ข้าง ๆ (เมืองไทยน่าจะเป็นกาแฟจาก Starbuck ที่ชอบฮิตถ่ายภาพกัน)


8. ข้อความสั้น ๆ ที่แคปหน้าจอ


         หลายคนเลือกที่จะเก็บความทรงจำที่คุยกับคนรัก หรือเพื่อน ด้วยวิธีการแคปหน้าจอของคนที่คุยด้วย มาโพสต์เก็บไว้บนอินสตาแกรม

9. ปีกเครื่องบิน 

         หลายคนที่เดินทางบ่อย ๆ ด้วยเครื่องบิน คงอดไม่ได้ที่ถ่ายภาพวิวสวย ๆ ผ่านปีกเครื่องบิน เพื่อโพสต์อวดเพื่อน ๆ ในอินสตาแกรม

10. ถ่ายภาพตัวเองผ่านกระจกในห้องน้ำ

         อีกแนวภาพยอดฮิตสำหรับหนุ่มสาวที่ชอบถ่ายภาพตัวเองผ่านกระจกในห้องน้ำ เพื่ออวดชุดใหม่ อวดหุ่น และอื่น ๆ อีกมากมาย

11. เรียงเท้าเป็นวงกลม   


         อีกหนึ่งแนวภาพยอดฮิตนอกจากถ่ายภาพเท้าตัวเองบนชายหาดแล้ว ก็คือ การถ่ายภาพเท้าหลาย ๆ เท้าที่เรียงกันเป็นวงกลม จากนั้นก็แท็กชื่อเจ้าของเท้าลงในภาพ

12. พระอาทิตย์ตก   


         แสงสีส้มอมเหลืองสวย ๆ บนท้องฟ้าก่อนพระอาทิตย์ตกกลายเป็นภาพยอดฮิตที่ทำให้หลาย ๆ คนต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายภาพเพื่อเก็บความรู้สึกที่สัมผัสของช่วงเวลานั้น ภาพอาทิตย์ตกจึงกลายเป็นภาพยอดฮิตที่หลาย ๆ คนชอบถ่ายลงอินสตาแกรม