ข้อควรระวังในการใช้คอมพิวเตอร์

1. ใช้เครื่องในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

2. ทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องด้วยตนเอง ทุกๆ 1 เดือน และส่งให้ช่างทำความสะอาดภายในตัวเครื่อง ทุกๆ 3 เดือน

3. หลังจากการเลิกการใช้งานเครื่อง ควรหาผ้า มาคลุมเครื่องให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง

4. อย่าปิด หรือ เปิดเครื่องบ่อยๆ จะทำให้ สวิทช์ หรือเครื่องเสียหายได้ หรืออาจทำให้ Hard Disk เสียได้ควรตรวจสอบจุดต่อสายต่างๆ เช่น ปลั๊กไฟ สายเครื่องพิมพ์

5. ถ้าตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ มีควันขึ้น ให้รีบถอดปลั๊กไฟ แล้วส่งซ่อมทันที

6. ห้ามเคลื่อนย้ายตัวเครื่อง  ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน

7. การถอดและเสียบสายคีย์บอร์ดและเมาส์ ให้สังเกตว่าด้านหัวเสียจะมีขายื่นออกไปหลายขา (อาจเรียกว่าหัวตัวผู้) และด้านช่องสำหรับเสียบก็มีรูเล็กหลายรู (อาจเรียกว่าหัวตัวเมีย) ผู้ใช้ต้องหันขาทุกขาและรูทุกรูให้ตรงกัน ก่อนจะเสียบเข้าไปได้  ถ้าหากขาและรูเสียบไม่ตรงกันจะทำให้ขาหักต้องซื้อคีย์บอร์ดหรือเมาส์ใหม่สถานเดียว เพราะซ่อมไม่ได้

8. การถอดแรมใส่แรม ผู้ใช้ต้องรู้จักชนิดของแรมของตัวเองว่าเป็นแรมแบบใด  เช่น  SD Ram , DDR Ram , DDRII Ram แรมแต่ละชนิดมีร่องบากที่แถบทองแดงไม่เท่ากัน และช่องเสียบแรม (Slot) ก็ไม่เหมือนกันด้วย ผู้ใช้ไม่สามารถใช้แรมชนิดหนึ่ง ไปเสียบช่องเสียบของแรมอีกชนิด เพราะร่องบากไม่ตรงกัน

9. การถอดและใส่ซีพียู ผู้ใช้ต้องรู้จักวางมุมของซีพียูให้ถูกต้อ จึงจะสามารถใส่ซีพียูลงในช่อง (Socket)ได้ และซีพียูต่างรุ่นกัน ไม่สามารถเสียบช่องแบบเดียวกันได้ ผู้ใช้มือใหม่ไม่ควรเสี่ยง ถ้าทำไม่เป็น  เพราะถ้าขาซีพียูหัก หาช่างซ่อมยากหรือซ่อมไม่ได้ ต้องซื้อใหม่ราคาหลายพันบาท

10. การใส่น็อดไม่ครบ ทำให้คอมเสียเร็ว เช่น ผู้ใช้บางคนใส่น็อดฮาร์ดดิสก์ เพียง 2 ตัว ทั้งที่ความจริงต้องใส่ 4 ตัว เป็นสาเหตุให้ฮาร์ดดิสก์เกิดการเขย่าตัว สั่นสะเทือน ขณะที่ฮาร์ดดิสก์ทำงาน  ทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์พังเร็วขึ้นหรือเกิด Bad Sector (พื้นผิวฮาร์ดดิสก์เสีย)  ต้องซื้อใหม่ราคาหลายพันบาท  และบางทีอาจไม่สามารถกู้ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่เสียคืนได้เลย

11. ควรทำความสะอาดฝุ่นภายในเคสอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  จะช่วยไม่ให้เกิดปัญหาเมนบอร์ดช็อต ฝุ่นเกาะติดพัดลมมากจะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี   คอมพิวเตอร์มีโอกาสแฮงค์บ่อย

12. ควรทำความสะอาดฝุ่นที่ติดหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะถ้ามีฝุ่นมาก จะทำให้มองภาพไม่ชัด และอีกประการหนึ่งอาจเกิดประจุไฟฟ้า เมื่อเอามือไปจับหน้าจอ ทำให้เกิดอาการคล้ายไฟฟ้าดูด

13. ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดภายนอกตัวเคส ภายนอกจอ คีย์บอร์ด เมาส์ เพื่อกำจัดฝุ่นที่ติดอยู่ออกไป ให้อุปกรณ์สะอาดดูน่าใช้ ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคทางลมหายใจ

14. ไม่ควรครอบเคส และจอด้วยผ้าคลุมทันทีหลังปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรปล่อยให้ความร้อนภายในเครื่องระบายออกไปให้หมดก่อนจึงครอบ

15. คีย์บอร์ดที่ตัวหนังสือลบเลือน อย่าเพิ่งทิ้ง ควรไปซื้อสติกเกอร์ตัวหน้าสือและตัวเลขสำหรับมาติดคีย์บอร์ด (Keyboard Stickers) ซึ่งมีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

16 . ระวังไฟดูดในกรณีต่อไปนี้
          - ตัวเปียก  เท้าเปียก  ถ้าเอามือแตะเคสส่วนที่เป็นโลหะ  ไฟจะดูด
          - ยืนเท้าเปล่า หรือใส่ถุงเท้าบนพื้นปูน  ถ้าเอามือแตะเคสส่วนที่เป็นโลหะ  ไฟจะดูด  ต้องใส่รองเท้าที่ไม่เปียก  เอามือแตะไฟจึงจะไม่ดูด
         - ถ้ายังเสียบสายไฟต่อกับจอ และเคส  อยู่  ไม่ควรเอามือแตะเมนบอร์ด  แรม   การ์ดต่างๆ  หรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมกับเมนบอร์ดที่อยู่ในเคส ไฟจะดูด

          - USB Hub  บางยี่ห้อ  เมื่อเอาสายเสียบต่อจากเคส  จะมีไฟรั่วมาที่ตัว Hub ด้วย   ถ้าตัวเปียก หรือยืนเท้าเปล่าบนพื้นปูน  แล้วเอามือไปแตะ  ไฟจะดูด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น