วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การขับขี่รถจักรยานยนต์สองล้ออย่างปลอดภัย

ที่มา : www.youtube.com
1. ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับใน ทางนั้น
2. รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดไว้สำหรับ รถจักรยานผู้ขับขี่รถจักรยานต้องจัดให้มี
(1)     กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
(2)     เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดีสามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที
(3)     โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาว ไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้ แสงสว่างตรงไปข้างหลัง หรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทนซึ่งเมื่อถูก แสงไฟส่องให้มีแสงสะท้อน
3. ในเวลาต้องเปิดไฟ ผู้ขับขี่รถจักรยานอยู่ในทางเดินรถไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับจักรยาน ต้องจุดโคมไฟสีขาวหน้ารถ เพื่อให้ ผู้ขับขี่หรือคนเดินเท้าซึ่งขับขี่รถหรือเดินสวนมาสามารถมอง เห็นรถ
4. ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้อง ขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น
5. ในทางเดินรถไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามมิให้ ผู้ขับขี่รถจักรยาน
(1)     ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สิน
(2)     ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
(3)     ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
(4)     ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งปกติ
(5)     ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อบรรทุกคน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

(6)     บรรทุกหรือสิ่งของหีบห่อหรือของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวาง การจับคันบังคับรถ อันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สิน
ที่มา : www.aphonda.co.th
ที่มา : http://www.trafficpolice.go.th/save_drive10.php

การเดินบนถนน, การข้ามถนน, การขึ้นลงรถประจำทางอย่างปลอดภัย

ที่มา  : www.oknation.net
1. การเดินถนน
(1)      ถนนที่มีทางเท้าจัดไว้ ให้เดินบนทางเท้าและอย่าเดินใกล้ทางรถ โดยหันหลังให้รถที่กำลังแล่นมาก่อนที่จะก้าวไปในทางรถต้องมองซ้าย-ขวา ก่อนเสมอ
(2)      ถนนที่ไม่มีทางเท้า ให้เดินชิดริมทางขวาของถนน อย่าเดินคู่กัน ให้เดินเรียงเดี่ยวตามกันไป
(3)      ถ้าจูงเด็กให้เด็กเดินด้านในและจับมือเด็กไว้ให้มั่น เพื่อป้องกัน เด็กวิ่งออกไปในทางรถ
(4)      การเดินถนนในที่มืด ควรสวมเสื้อขาว และถ้าถือไฟฉายส่องติดมือ ไปด้วยก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
(5)      แถวหรือขบวนทหาร ตำรวจ ลูกเสือ หรือนักเรียนที่มีผู้บังคับบัญชา ควบคุมเดินอย่างเป็นระเบียบ จะเดินทางรถยนต์ก็ได้ โดยชิดทางรถ ด้านขวาหรือด้านซ้ายตามความจำเป็น
2. การข้ามถนน
(1)      ก่อนข้ามถนนทุกครั้ง ต้องหยุดเดินที่ขอบถนน มองขวาซ้าย แล้วมองขวาให้แน่ใจว่าไม่มีรถกำลังแล่นมา จึงข้ามได้ แล้วให้รีบข้าม ถนนไปเป็นเส้นตรง และให้เดินอย่างรวดเร็ว อย่าวิ่งข้ามถนน
(2)      ถ้าบริเวณที่จะข้ามถนนมีช่องข้ามมาทาง (ทางม้าลาย) ต้องข้ามตรง ช่องทางข้ามปลอดภัยที่สุด
ที่มา : www.siamhowto.com
(3)      อย่าข้ามถนนโดยออกจากที่กำบังตัว เช่น ออกจากซอยรถที่จอดอยู่ หรือท้ายรถประจำทาง เพราะจะเกิดอันตรายขึ้นได้
(4)      การข้ามถนนที่รถเดินทางเดียว ต้องหยุดให้แน่ใจเสียก่อนว่ารถ แล่นมาจากไหนและมีความปลอดภัยพอหรือยังจึงข้ามได้
(5)      ถนนที่มีเกาะกลางถนนต้องข้ามทีละครึ่งถนน โดยข้ามครั้งแรก ไปพักที่เกาะกลางถนนเสียก่อน จึงข้ามในครึ่งหลังต่อไป
(6)      ในเวลากลางคืนควรไปหาที่ข้ามที่มีแสงสว่าง
3. ช่องข้ามทางหรือทางม้าลาย
(1)      คนเดินเท้าที่กำลังเดินข้ามถนนในทางม้าลายมีสิทธิไปก่อนรถ เพราะตามกฎหมายต้องหยุดให้คนข้ามถนนในทางข้ามทาง แต่จะต้อง ระวังให้โอกาสแก่รถที่ชะลอความเร็วและหยุดไม่ทัน ก่อนที่จะก้าวลงไป ในถนนยิ่งเวลาฝนตกถนนลื่นต้องระวังให้มาก
(2)      ถึงแม้ว่าคนขับรถจะหยุดให้ข้าม ต้องข้ามด้วยความระมัดระวัง มองขวา - ซ้าย ตลอดเวลา เพราะอาจมีผู้ขับขี่บ้าบิ่นแซงรถที่หยุดรถ อยู่ขึ้นมาได้ และการข้าถนนต้องรวดเร็ว อย่าเดินลอยชาย
(3)      การข้ามถนนในช่องทางข้ามที่บริเวณทางแยก ให้ระวังรถที่จะเลี้ยว เข้ามาหาตัวท่านด้วย
(4)      ถ้ามีเกาะกลางถนนทำไว้ที่ทางม้าลาย ให้ข้ามถนนไปทีละครึ่งถนน โดยพักรออยู่บนเกาะ มองขวา-ซ้ายปลอดภัยแล้วจึงข้ามไป ดังนั้น ถ้าท่านกำลังข้ามถนนอยู่ ถ้าเห็นรูปคนสีเขียวกระพริบขึ้นสัญญาณไฟ ก็ให้รีบข้ามถนนให้พ้นไป โดยเร็วข้อสำคัญอย่าเริ่มก้าวข้ามถนน เมื่อ เห็นรูปคนสีเขียวกระพริบที่สัญญาณไฟเป็นอันขาด เพราะจะข้ามถนนไป ไม่ตลอด และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
4. ทางข้ามที่มีตำรวจจราจรควบคุมอย่าข้ามถนนเมื่อตำรวจกำลังปล่อยรถ เดินอยู่ หรือเมื่อตำรวจให้สัญญาณห้ามคนเดินเท้าอยู่
5. การข้ามถนนบนสะพานลอยถนนในกรุงเทพฯ และในเมืองใหญ่จะทำ สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามให้ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอยจะปลอดภัย กว่า

ที่มา : www.dek-d.com

6. การขึ้นลงรถประจำทางอย่าขึ้นหรือลงรถประจำทาง จนกว่ารถจะหยุด สนิทที่ป้ายหยุดรถประจำทางเมื่อลงจากรถประจำทาง แล้วจะข้ามถนน ควรรอให้รถออกไปให้พ้นเสียก่อน จะได้มองเห็นรถอื่นๆ ที่แล่นเข้ามา ได้อย่างชัดเจน

ที่มา : http://www.trafficpolice.go.th/save_drive6.php

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ GPS

ที่มา : earth2225.wordpress.com

GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียมหลัก 3 ค่าย คือ อเมริกา รัสเซีย ยุโรป
ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม.หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008
รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)
ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจาก นโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร
2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ
ทุกวันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ notebook เพื่อเชื่อมต่อกับ internet

ทุกวันนี้ในต่างประเทศมีการใช้อุปกรณ์ GPS กันอย่างกว้างขวาง และประชาชนมีความรู้เรื่อง GPS เป็นอย่างดี เพราะได้มีการใช้ งานมาหลายปีแล้วและมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรในรูปแบบของดิจิตอล ประกอบกับมีการวางผังเมือง อย่างเป็นระเบียบทำให้การพัฒนาระบบ GPS เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในรถแท็กซี่จะพบอุปกรณ์ GPS ประจำอยู่แทบทุกคัน เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง หรือการขับรถเพื่อท่องเที่ยวก็จะมีการแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวพร้อมสถานที่น่าสนใจต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ที่พัก จุดชมวิว แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น และนักเดินทางก็มักจะพกอุปกรณ์ GPS ในรูปแบบ PDA หรือ Pocket PC กันเป็นส่วนมาก แทนการพกพาสมุดแผนที่อย่างในอดีต ปัจจุบันนี้ระบบ GPS สามารถค้นหาถึงระดับบ้านเลขที่หรือเบอร์โทรศัพท์ และนำทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

ที่มา : http://www.global5thailand.com/thai/gps.htm

ขับรถผิดกฎจราจรต้องจ่ายเท่าไร?

ที่มา : http://infographic.kapook.com/view109728.html

สัญญาณมือจราจร


https://www.youtube.com/watch?v=C9IrrlaZaiE

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปฏิบัติ13 ข้อ แก้ปัญหารถติดได้

วิธีแก้ปัญหารถติดในกทม โดยที่ไม่ต้องสร้างถนนเพิ่ม
ผู้เขียน : พธม.กรุงเทพฯ
1.
หยุดออกรถใหม่ (นโยบายรถคันแรก ช่างหัวอิปูมันไม่ต้องสนใจ)
2.
แท็กซี่หยุดจอดแช่ ตามป้าย ตาม ริมถนน
3.
รถเมล์หยุดจอดแช่ หยุดป้าย เข้าขวาแล้วออกซ้าย วิ่งตามเลนซ้ายของตนเอง
4.
รถยนต์หยุด ขับปาดซ้าย เบียดขวา ขับตรงไปเรื่อยๆ ถ้าไม่เลี้ยว ก็ไม่ต้องเบียด ไม่ต้องกลัวไม่ได้ไป ถ้าไปดีๆ ได้ไปทุกคัน
5.
รถยนต์ทุกชนิด หยุดวิ่งชิดซ้าย เบียนเลนรถจักรยานยนต์
6.
รถจักรยานยนต์ก็หยุดวิ่งเลนขวา เลนกลาง ( แต่ปกติเลนซ้าย รถใหญ่มันครองหมด)
7.
หยุดฝ่าไฟแดง ในขณะไฟเขียวกำลังจะหมดเวลา (เพราะฝ่าไฟแดง รถจะไปติดกันกลางไฟแดง เพราะต่างคนต่างจะไป สรุป ไปไหนไม่ได้สักทาง เพราะกูก็จะไป)
8.
หยุดบีบแตรถ้ารถติดแช่นาน ก็ไม่ต้องบีบแตร ใส่กัน ยิ่งบีบ ยิ่งเบียดกัน
9.
มีน้ำใจ หยุดรถให้รถคันอื่นเลี้ยว จะได้ไม่ค่อยๆขยับๆออกมาเบียดเองกลางถนน
10.
หยุดรถทุกครั้งเวลาเห็นคนจะข้ามถนน ตรงทางม้าลาย ไม่ต้องให้คน เล่นเกมส์ วิ่งข้ามถนน ว่าจะรอดหรือไม่รอด
11.
หยุดจอดรถ ในที่ห้ามจอด โดยจะเฉพาะช่วงถนนคอขวด
12.
ถ้าไม่จำเป็นก็ใช้รถสาธารณะในการเดิน(จะได้ไม่ต้องบ่นว่าน้ำมันแพง)
13.
ที่สำคัญปฏิบัติตามกฏจราจร
ที่มา : http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=340482&Mbrowse=16




วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับการขับรถ

1. ผู้ขับขี่จะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือเฉี่ยวชนคนดินเท้า ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้า ให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะเด็ก คนชราหรือคนพิการที่กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในการควบคุมรถของตน
2. ในการขับรถ ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย และต้องไม่ล้ำเส้น กึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาหรือล้ำเส้น กึ่งกลางของทางเดินรถได้
ü ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดกั้นการจราจร
ü การเดินรถนั้นกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
ü ทางเดินรถกว้างไม่ถึง 6 เมตร
3. ในการใช้ทางที่แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่อง ขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุดผู้ขับขี่ ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด หรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทางเว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้เดินรถทางขวาของทางเดินรถได้
ü ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
ü ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถ ทางเดียว
ü จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วม ทางแยก
ü เมื่อจะแซงขึ้นหน้าคันอื่น
4. รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ รถที่มีความเร็วข้า หรือรถที่ใช้ความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับไปในทาง เดียวกันผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ช่องทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่ทำได้ ถ้าทางรถนั้นได้แบ่งช่องเดินรถในทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้ ต้องขับรถในช่องเดินรถ ด้านซ้ายสุด หรือใกล้กับช่องทางเดินรถประจำทาง
5. ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้าไปก่อน เปลี่ยนช่องเดินรถ และลดความเร็ว จอดรถหรือหยุดรถต้องใช้สัญญาณ มือ และ/ หรือสัญญาณไฟ เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร ก่อนถึง ทางเลี้ยว
6. เมื่อขับรถสวนกัน ให้ขับรถชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ โดยให้ถือ เส้นกึ่งกลางของทางรถเป็นหลัก หรือเส้นแนวที่แบ่งเป็นช่องเดินรถ เป็นหลัก
7. ในทางเดินรถที่แคบ เมื่อขับรถสวนกันผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายต้องลดความ เร็วของรถเพื่อให้รถสวนกันได้โดยปลอดภัย
8. ในทางเดินรถที่แคบ ซึ่งไม่อาจขับสวนกันได้โดยปลอดภัย เมื่อขับรถ สวนกัน ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่ใหญ่กว่า ต้องหยุดรถให้ชิดของทางเดินรถ ด้านซ้าย ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่เล็กกว่าผ่านไปก่อน
9. ในทางเดินรถที่มีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถ เพื่อ ให้รถที่สวนมาผ่านไปได้ก่อน
10. ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าพอสมควร ในระยะที่หยุดรถ ได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ
11. ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถขึ้นสะพาน หรือทางลาดชัน ต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่ให้รถถอยหลังไปโดนรถคันอื่น
12. ทางเดินรถใดที่มีเครื่องหมายจราจรแบ่งทางเดินรถออกเป็นสองทาง สำหรับรถเดินได้ทางหนึ่ง ล่องทางหนึ่ง โดยมีช่องว่างคั่นกลาง หรือ ทำเครื่องหมายจราจรกีดกั้น แสดงว่าทางเดินรถนั้นมีการแบ่งออก เป็นสองทางดังกล่าวให้ผู้ขับขี่รถชิดซ้ายของทางเดินรถ
13. ห้ามมิให้ขับขี่รถยนต์ในกรณีดังต่อไปนี้
ü ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะเกิดอันตรายขึ้นได้
ü ขณะเมาสุราหรือเมาอย่างอื่น, หรือเสพยาบ้า
ü ในลักษณะกีดขวางการจราจร
ü โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สิน
ü ในลักษณะผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแล เห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลังด้านในด้านหนึ่งหรือ ทั้งสองด้านซึ่งไม่พอ แก่ความปลอดภัย
ü คร่อมหรือทับเส้นแนวแบ่งช่องทางเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยน
ü ช่องทางเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
ü บนทางเดินเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับ ทารก คนป่วย หรือคนพิการ
ü ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
14. ขณะขับรถต้องนำใบอนุญาตขับขี่ติดตัวไปด้วย และใบอนุญาตนั้น จะต้องถูกต้องตามชนิดและประเภทของรถ พร้อมนำภาพถ่ายสำเนา คู่มือจดทะเบียนรถติดตัวไปด้วย อย่าเก็บภาพถ่ายสำเนาคู่มือจดทะเบียน
ไว้ในลิ้นชักรถ เพราะภาพถ่ายสำเนาคู่มือทะเบียนรถนั้น เจ้าของหรือ ผู้ขับ จะไว้ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อป้องกันการโจรกรรมรถ หากเป็นคนร้ายขโมยรถไป ก็ไม่สามารถแสดงภาพถ่ายสำเนาคู่มือ จดทะเบียนได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะยึดรถไว้เพื่อให้เจ้าของจำหลักฐาน มาขอรับรถ
15. ผู้ขับขี่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความหมายเครื่องหมายสัญญาณ การจราจรต่าง ๆ และแผ่นป้ายเครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งตามถนน สายต่าง ๆ และให้ปฏิบัติตามด้วย



ที่มา : http://www.trafficpolice.go.th/save_drive7.php

การขับรถอย่างปลอดภัย ขึ้นอยู่กับความรู้ 5 ประการ หรือหลัก 5 "ร"

1.รอบรู้เรื่อง "รถ"
          นักขับที่ดีจะต้องรอบรู้เรื่องรถที่ขับขี่เป็นอย่างดี หมั่นตรวจตราแก้ไขข้อ บกพร่องอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนออกเดินทางไกลควรจะได้ ตรวจอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญ ๆ
ü เครื่องยนต์
ü ห้ามล้อ
ü ยาง
ü นอตบังคับล้อ
ü พวงมาลัย
ü ที่ปัดน้ำฝน
ü กระจกส่องหลัง
                    ü ไฟ
2. รอบรู้เรื่องทาง
          ทางแต่ละสายย่อมแตกต่างกัน โดยสภาพภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อม ถ้าเป็นเส้นทางไม่เคยไป ควรศึกษาจากแผนที่ คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง ตำรวจท้องที่ ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดท่านจะต้องสังเกตและปฏิบัติตามป้ายและเครื่องหมายจราจร
3. รอบรู้เรื่องวิธีขับรถ
          การขับรถเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ขับรถเป็นอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้วิธีแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยฉับพลัน และสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยมิได้คาดคิด เนื่องจากขาดความชำนาญ เช่น เบรกจะทำอย่างไร
4. รอบรู้เรื่องกฎจราจร
          กฎจราจรมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนประพฤติปฏิบัติในแนวเดียวกัน เพื่อ ความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็ว

5. รอบรู้เรื่องมารยาทในการขับรถ
          มารยาทในการขับรถมีความสำคัญไม่น้อยในการใช้รถใช้ถนน นักขับขี่ ที่ดีควรแสดงความเป็นสุภาพบุรุษ อะลุ้มอล่วย เห็นใจ แนะนำและให้อภัย ต่อความผิดพลาดของผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการแสดงมารยาทที่ไม่สมควร


ที่มา : http://www.trafficpolice.go.th/save_drive.php

สาเหตุของการจราจรติดขัด

ที่มา : www.easybranches.co.th
1.ผังเมืองอย่างกรุงเก่าที่ไม่ได้เตรียมการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร
ทำให้ทุกวันนี้การใช้พื้นที่ในการจราจร มีการปะปนสับสนคับคั่ง และไม่อาจจัดระบบระเบียบที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งก่อสร้างและสาธารณูปโภคต่างๆ โดยเฉพาะการบริหารจัดการระบบจราจรที่จำนวนผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 15 ปีนี้ จึงเกิดปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร ดังนี้
1.1 ความจำเป็นและความต้องการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองหรือเขตธุรกิจตอนในและเขตธุรกิจใหม่ เพราะเป็นย่านธุรกิจ  แหล่งจ้างงาน สถานที่ราชการ และสถานศึกษา ผู้คนต่างก็มุ่งเข้าสู่เขตดังกล่าวนี้ จึงก่อความไม่สมดุลของปริมาณการจราจรและพื้นที่ถนนแล้ว เกิดความคับคั่งของการจราจรโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน
1.2 จำนวนพื้นผิวจราจรที่เพิ่มมากจนเกิดขีดความสามารถ ฝ่ายสถิติการขนส่งระบุว่าจำนวนถนนในเขตกรุงเทพมหานคร มีถนนทั้งสิ้น ยาวรวม 2,812 กิโลเมตร พื้นที่ถนนมีทั้งหมดประมาณ 38.5 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.45 ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ประมาณ   1,566.73   ตารางเมตร)  ซึ่งพบว่าพื้นที่ถนนมีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (พื้นที่จราจรที่ไม่มีปัญหาจราจรของประเทศพัฒนาจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15)  สัดส่วนการเพิ่มขึ้นของรถยนต์มากกว่าพื้นที่ถนนถึง 17.5 เท่า แสดงว่าขีดความสามารถของถนนในการรองรับปริมาณจราจรลดลงตลอดเวลา 
1.3 สภาพและลักษณะของถนนหรือพื้นผิวจราจรที่ไม่เหมาะสมและสอดคล้องต่อปริมาณ จราจรและการเคลื่อนตัวของยานพาหนะ ดังเช่นพื้นผิวจราจรที่ขรุขระหรือปะหรือเป็นหลุมบ่อ เพราะสภาพการใช้งานหนัก น้ำท่วม   หรือขาดการซ่อมบำรุงที่ทันการหรือเพราะซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคอื่นๆ ก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวในการจราจรหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้  ถนนหลักหลายสายที่มีขนาดกว้างไม่พอต่อปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

2. ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะยังมีไม่พอและไม่ได้มาตรฐานสากล 
ฝ่ายสถิติการขนส่งระบุในแต่ละวันมีผู้เดินทางประมาณ 2 ใน 3 ใช้บริการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะรถประจำทาง ขส.มก ถึงร้อยละ 68 แต่ ขส.มก เองยังไม่อาจบริหารและจัดการบริการขนส่งให้เป็นที่พอใจและประทับใจแก่ผู้โดยสารได้  เพราะมีความด้อยมาตรฐานในการบริการมากมาย อาทิ ไม่อาจกำหนดเวลาเดินรถที่แน่นอน  จำนวนรถไม่พอบริการในช่วงเวลาเร่งด่วน  สภาพรถส่วนหนึ่งชำรุดทรุดโทรม ความแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน   ความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง  บริการของพนักงานไม่ได้มาตรฐาน  รถขนส่งมวลชนไฮเทคยังไม่มีบริการเป็นต้น  ดังนั้น  แนวโน้มของการของการมีรถยนต์ส่วนตัวบุคคลของครัวเรือนจะเพิ่มสูงขึ้น

3. การปฏิบัติผิดกฎหมายจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนอยู่เป็นนิจและโดยทั่วไป เพราะลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ขาดวินัย มักง่าย   ประมาทเลินเล่อ  และไม่รู้กฎจราจรของปัจเจกบุคคลอย่างผู้ด้อยพัฒนา จึงใช้รถใช้ถนนอย่างขาดระเบียบ เกิดการละเลี่ยง ฝ่าฝืน ปฏิบัติผิดกฎจราจร สร้างปัญหาการจราจรติดขัดและอุบัติเหตุได้เสมอๆ  นอกจากนี้กระบวนการป้องปรามผู้กระทำผิดการจราจรยังไม่เด็ดขาด   เพราะความด้อยประสิทธิภาพของระบบงาน   เนื่องจากความขาดแคลนและการไม่เข้าสู่มาตรฐานของเทคโนโลยีการจราจรบุคลากร  งบประมาณ และเทคนิคการบริหาจัดการ ฯลฯ ดังนี้
3.1   อุบัติเหตุจากรถบนทางหลวงเกิดขึ้นเป็นประจำและเพิ่มมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน หรือแม้แต่เสียเวลา จากการไม่เคารพกฎจราจรและความประมาท เป็นต้น พบว่ามีการชนกันที่ทางแยก   ทางโค้ง หรือเนื่องจากการแซงเป็นจำนวนมาก ฯลฯ
3.2   พฤติกรรมด้อยพัฒนาในปัจเจกบุคคล   ได้แก่
ü การไม่เคารพกฎจราจรของผู้ใช้รถ เช่น การแซงโดยไม่ให้สัญญาณแซงกลับรถในทางแยกหรือที่ห้ามกลับรถ ไม่เปิดไฟเลี้ยว ฯลฯ
ü ความมักง่ายของผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น จอดรถในซอยที่ใช้เป็นทางลัดหยุดรถในถนนที่มีการจราจรหนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน แซงรถตามใจชอบ ข้ามถนนในทางที่ไม่ใช่ทางม้าลายและสะพานลอย   ฯลฯ
ü ความประมาทเลินเล่อในการขับรถ   เช่น   ดื่มสุรา   เสพสารเสพติด แซงรถในที่คับขัน  ฯลฯ
ü การไม่รู้กฎจราจร   ในการใช้ถนนใช้รถ   เช่น   การข้ามถนนตามใจชอบ การจอดรถในที่ห้ามจอด   การตั้งวางสิ่งของในทางเท้าจนขีดกว้างการเดินเท้าในย่านตลาด   การไม่จอดรถหรือขึ้นลงรถโดยสารในบริเวณป้ายจอดรถ   การขับรถสวนในเขตวันเวย์  ฯลฯ
ที่มา : news.tlcthai.com

4. คุณภาพรถจำนวนมากต่ำกว่ามาตรฐาน   เพราะรถเก่ายังคงวิ่งอยู่บนถนนจำนวนมาก การเดินรถเสียบบนท้องถนนสร้างความติดขัดต่อการจราจรเสมอ   อีกทั้งยังสร้างมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร   ดังเช่น  ควันดำ   คาร์บอนมอนนอกไซด์ และเสียงดัง   เป็นต้น
5.  พ่อค้า แม่ค้าวางของขายบนบาทวิถี   คนเดินเท้าต้องมาเดินในถนน

ที่มา : pantip.com