1.ผังเมืองอย่างกรุงเก่าที่ไม่ได้เตรียมการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร
ทำให้ทุกวันนี้การใช้พื้นที่ในการจราจร มีการปะปนสับสนคับคั่ง
และไม่อาจจัดระบบระเบียบที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งก่อสร้างและสาธารณูปโภคต่างๆ
โดยเฉพาะการบริหารจัดการระบบจราจรที่จำนวนผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา
15 ปีนี้ จึงเกิดปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร ดังนี้
1.1 ความจำเป็นและความต้องการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองหรือเขตธุรกิจตอนในและเขตธุรกิจใหม่
เพราะเป็นย่านธุรกิจ แหล่งจ้างงาน สถานที่ราชการ
และสถานศึกษา ผู้คนต่างก็มุ่งเข้าสู่เขตดังกล่าวนี้ จึงก่อความไม่สมดุลของปริมาณการจราจรและพื้นที่ถนนแล้ว
เกิดความคับคั่งของการจราจรโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน
1.2 จำนวนพื้นผิวจราจรที่เพิ่มมากจนเกิดขีดความสามารถ
ฝ่ายสถิติการขนส่งระบุว่าจำนวนถนนในเขตกรุงเทพมหานคร มีถนนทั้งสิ้น ยาวรวม 2,812 กิโลเมตร พื้นที่ถนนมีทั้งหมดประมาณ 38.5
ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.45
ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ประมาณ 1,566.73 ตารางเมตร)
ซึ่งพบว่าพื้นที่ถนนมีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (พื้นที่จราจรที่ไม่มีปัญหาจราจรของประเทศพัฒนาจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ
15) สัดส่วนการเพิ่มขึ้นของรถยนต์มากกว่าพื้นที่ถนนถึง
17.5 เท่า แสดงว่าขีดความสามารถของถนนในการรองรับปริมาณจราจรลดลงตลอดเวลา
1.3 สภาพและลักษณะของถนนหรือพื้นผิวจราจรที่ไม่เหมาะสมและสอดคล้องต่อปริมาณ
จราจรและการเคลื่อนตัวของยานพาหนะ
ดังเช่นพื้นผิวจราจรที่ขรุขระหรือปะหรือเป็นหลุมบ่อ เพราะสภาพการใช้งานหนัก
น้ำท่วม หรือขาดการซ่อมบำรุงที่ทันการหรือเพราะซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคอื่นๆ
ก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวในการจราจรหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถนนหลักหลายสายที่มีขนาดกว้างไม่พอต่อปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะยังมีไม่พอและไม่ได้มาตรฐานสากล
ฝ่ายสถิติการขนส่งระบุในแต่ละวันมีผู้เดินทางประมาณ
2 ใน 3 ใช้บริการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะรถประจำทาง ขส.มก
ถึงร้อยละ 68 แต่ ขส.มก เองยังไม่อาจบริหารและจัดการบริการขนส่งให้เป็นที่พอใจและประทับใจแก่ผู้โดยสารได้
เพราะมีความด้อยมาตรฐานในการบริการมากมาย
อาทิ ไม่อาจกำหนดเวลาเดินรถที่แน่นอน จำนวนรถไม่พอบริการในช่วงเวลาเร่งด่วน สภาพรถส่วนหนึ่งชำรุดทรุดโทรม ความแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน ความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง บริการของพนักงานไม่ได้มาตรฐาน รถขนส่งมวลชนไฮเทคยังไม่มีบริการเป็นต้น ดังนั้น แนวโน้มของการของการมีรถยนต์ส่วนตัวบุคคลของครัวเรือนจะเพิ่มสูงขึ้น
3. การปฏิบัติผิดกฎหมายจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนอยู่เป็นนิจและโดยทั่วไป เพราะลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ขาดวินัย
มักง่าย ประมาทเลินเล่อ และไม่รู้กฎจราจรของปัจเจกบุคคลอย่างผู้ด้อยพัฒนา
จึงใช้รถใช้ถนนอย่างขาดระเบียบ เกิดการละเลี่ยง ฝ่าฝืน ปฏิบัติผิดกฎจราจร สร้างปัญหาการจราจรติดขัดและอุบัติเหตุได้เสมอๆ นอกจากนี้กระบวนการป้องปรามผู้กระทำผิดการจราจรยังไม่เด็ดขาด เพราะความด้อยประสิทธิภาพของระบบงาน เนื่องจากความขาดแคลนและการไม่เข้าสู่มาตรฐานของเทคโนโลยีการจราจรบุคลากร งบประมาณ และเทคนิคการบริหาจัดการ ฯลฯ ดังนี้
3.1
อุบัติเหตุจากรถบนทางหลวงเกิดขึ้นเป็นประจำและเพิ่มมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อร่างกาย
ชีวิตและทรัพย์สิน หรือแม้แต่เสียเวลา จากการไม่เคารพกฎจราจรและความประมาท เป็นต้น
พบว่ามีการชนกันที่ทางแยก ทางโค้ง หรือเนื่องจากการแซงเป็นจำนวนมาก
ฯลฯ
3.2
พฤติกรรมด้อยพัฒนาในปัจเจกบุคคล
ได้แก่
ü การไม่เคารพกฎจราจรของผู้ใช้รถ
เช่น การแซงโดยไม่ให้สัญญาณแซงกลับรถในทางแยกหรือที่ห้ามกลับรถ ไม่เปิดไฟเลี้ยว ฯลฯ
ü ความมักง่ายของผู้ใช้รถใช้ถนน
เช่น จอดรถในซอยที่ใช้เป็นทางลัดหยุดรถในถนนที่มีการจราจรหนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน
แซงรถตามใจชอบ ข้ามถนนในทางที่ไม่ใช่ทางม้าลายและสะพานลอย ฯลฯ
ü ความประมาทเลินเล่อในการขับรถ เช่น
ดื่มสุรา เสพสารเสพติด แซงรถในที่คับขัน ฯลฯ
ü
การไม่รู้กฎจราจร ในการใช้ถนนใช้รถ เช่น
การข้ามถนนตามใจชอบ การจอดรถในที่ห้ามจอด
การตั้งวางสิ่งของในทางเท้าจนขีดกว้างการเดินเท้าในย่านตลาด การไม่จอดรถหรือขึ้นลงรถโดยสารในบริเวณป้ายจอดรถ การขับรถสวนในเขตวันเวย์ ฯลฯ
ที่มา : |
4. คุณภาพรถจำนวนมากต่ำกว่ามาตรฐาน
เพราะรถเก่ายังคงวิ่งอยู่บนถนนจำนวนมาก การเดินรถเสียบบนท้องถนนสร้างความติดขัดต่อการจราจรเสมอ อีกทั้งยังสร้างมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร ดังเช่น
ควันดำ คาร์บอนมอนนอกไซด์
และเสียงดัง เป็นต้น
5. พ่อค้า แม่ค้าวางของขายบนบาทวิถี คนเดินเท้าต้องมาเดินในถนน
ที่มา : pantip.com |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น